ก่อนที่เจ้าของบ้านจะสร้างบ้าน ควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อนที่จะสร้างบ้าน เพื่อให้บ้านที่เราตั้งใจวางแผนเอาไว้เป็นไปในแบบที่เราตั้งเป้ากำหนดเอาไว้ ทาง baanclub.com จึงจะมาบอก สิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มสร้างบ้าน ซึ่งการเตรียมความพร้อมนั้นจะทำให้การสร้างบ้านราบรื่นและเสร็จตามระยะเวลาตามที่ตั้งไว้
สิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มสร้างบ้าน
1. ทำเลที่ตั้ง ดูที่ดินสำหรับปลูกสร้าง
การเลือกทำเลที่ตั้งในการปลูกบ้าน ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญมากในเรื่องของการสร้างบ้าน เจ้าของบ้านควรคำนึงถึงความสะดวกสบายหลังจากที่สร้างบ้านเสร็จแล้ว สิ่งอำนวยความสะดวก เมื่อจ้าของบ้านเข้าอยู่อาศัยแล้ว เช่น การเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ การเดินทางไปที่ทำงาน การเดินทางไปสถานที่สำคัญต่าง ๆ และความปลอดภัยของย่านทำเลที่อยู่อาศัย รวมถึงเส้นทางในการเดินทางเข้า-ออกจากบ้าน ซึ่งควรมีมากกว่า 1 เส้นทาง

2. ระดับความสูงของพื้นที่ ต้องถมดินหรือไม่
ถือเป็นคำถามยอดฮิตก่อนกรสร้างบ้านเลยก็ว่าได้กับ ต้องถมดินเพิ่มระดับความสูงหรือไม่ บางคนบอก 50 ซม. บ้างก็ว่า 30 ชม. ซึ่งที่จริงแล้วไม่มีข้อกำหนดแน่นอน การถมดินเพื่อสร้างบ้าน ควรถมดินหรือไม่ ถมเท่าไหร่ ให้ดูที่ระดับพื้นถนนหน้าบ้านเรา ซึ่งบริเวณบ้านที่จะทำการก่อสร้าง ควรสูงกว่าระดับถนน 50 ชม.ขึ้นไป ถ้าถนนหน้าบ้านเป็นดินแดง ลูกรัง ควรถมดินให้สูงกว่าระดับถนนหน้าบ้าน 1 เมตร เพื่อรองรับการทำถนนใหม่ในอนาคต แต่ถ้าบริเวณก่อสร้างมีน้ำท่วมถึง ก็ให้ดูร่องรอยน้ำท่วม แล้วถมดินให้สูงกว่ารอยน้ำท่วม 50 ชม. ขึ้นไป
3. ทิศทางแดด ทิศทางลม และดูแปลนบ้าน
ทิศทางแดดและทิศทางลม เป็นสิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งการวางตำแหน่งแปลนบ้านที่ดี จะช่วยให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้าน มีความสะดวกสบาย ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ลมพัดเข้า-ออกเย็นสบาย โดยทิศทางแสงแดดจะวิ่งเป็นแนวตะวันออกไปทางทิศใต้ แล้วสิ้นสุดที่ทิศตะวันตก เหมาะสำหรับห้องที่สมาชิกในบ้านไม่ได้ใช้เวลาอยู่นานนัก หรือห้องที่ต้องการแสงแดดเพื่อลดความชื้น เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว หรือพื้นที่ซักล้าง ส่วนทิศเหนือควรเป็นห้องนอน เพราะเป็นพื้นที่ ที่ไม่ถูกรบกวนจากแสงแดดมาก หรือจะใช้เป็นห้องนั่งเล่นก็ได้ ส่วนในเรื่องของทิศทางลม บ้านที่ดีควรหันด้านยาวของตัวบ้านเข้าหาลม เพื่อเพิ่มพื้นที่การรับลมธรรมชาติเข้าบ้าน ลมจะเข้าทางหน้าต่างด้านข้างของตัวบ้าน ซึ่งจะช่วยระบายความร้อนภายในบ้านได้ดี อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศภายในตัวบ้านได้อีกด้วย

4. ทิศทางการวางบันได
ทิศทางในการวางบันใด การหันบันไดในตัวบ้าน ไม่แนะนำให้หันบันไดไปทางทิศตะวันตก เนื่องจากทิศตะวันตกเป็นทิศที่มีแสงแดดตอนบ่ายค่อนข้างแรง อาจทำให้บันใดร้อนมากไปหรือแสงแดดจ้าอาจจะส่องตา ทำให้เจ้าของบ้านแสบตาจนอาจเกิดอุบัติเหตุได้ แต่ถ้าจำเป็นต้องวางในทิศตะวันตก ก็ไม่ควรให้ผนังด้านที่บันไดมุ่งไปหานั้นมีแสงแดดส่องผ่านมาได้ โดยอาจเปลี่ยนเป็นการนำแสงแดดธรรมชาติลงมาจากด้านบนเพดานแทน
5. ความสูงของเพดาน
ถ้าเราออกแบบให้เตี้ยไป-เวลาอยู่อาศัยจะรู้สึกอึดอัดได้ ถ้าเราออกแบบให้สูงไปก็จะโคร่ง ๆ เปลืองพลังงานจากเครื่องปรับอากาศ เราควรจะเผื่อความสูงฝ้าเพดานไว้เท่าไหร่ดีล่ะ โดยปกติความสูงฝ้าโดยทั่วไป วัดจากระดับพื้นถึงท้องฝ้า ควรจะสูงไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร ซึ่งเป็นความสูงที่กำลังสบายไม่อึดอัดหรือรู้สึกโดนกดทับ และประหยัดค่ากระเบื้องได้อีกด้วย ปัจจุบันวัสดุกรุผนังส่วนใหญ่จะทำออกมาที่ตัวเลขรวมได้ 2.40 พอดี ยกตัวอย่างเช่น กระเบื้องขนาด 30 x 30 ชม. หากปู 8 แถว ก็จะได้ความสูง 8 x 30 = 2.40 เมตร พอดี ทำให้กระเบื้องไม่เหลือเศษทิ้งให้เสียของ และหากต้องกรุในปริมาณมาก ๆ ก็ช่วยลดงบประมาณในการซื้อวัสดุกรุผนังลงได้เช่นกัน
6. จำนวนสมาชิก จำนวนผู้พักอาศัยในบ้าน
สมาชิกในบ้าน ต่างเพศ ต่างวัย ย่อมมีความต้องการพื้นฐานที่แตกต่างกัน จำนวนสมาชิกและความต้องการของผู้อยู่อาศัยในบ้าน มีผลต่อการออกแบบบ้านอย่างมากต่อ การออกแบบ จำนวนชั้น การจัดสรรพื้นที่ใช้สอย การกั้นห้อง และการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง โดยความต้องการใช้บ้านนั้น ควรมองทั้งความต้องการส่วนตัวของสมาชิกแต่ละคน ความต้องการโดยรวมเรื่องสไตล์บ้านและแนวคิดเรื่องบ้านที่ต้องการ เช่น บ้านเพื่อผู้สูงอายุ บ้านสำหรับครอบครัวใหญ่ บ้านประหยัดพลังงน เพื่อให้การออกแบบบ้านและการสร้างบ้านนั้น เอื้อประโยชน์ต่อการพักอาศัยและตอบโจทย์ทุกความต้องการมากที่สุด
7. งบประมาณที่ใช้การสร้างบ้าน
งบประมาณการสร้างบ้าน คือ ปัจจัยสำคัญอีกข้อหนึ่งในการตัดสินใจสร้บ้านหรือเลือกบริษัทรับสร้างบ้าน การตั้งงบประมาณไว้อย่างรอบคอบ และรัดกุม จะช่วยไม่เกิดปัญหางบบานปลายภายหลัง เจ้าของบ้านจะได้บ้านที่ตอบโจทย์มากที่สุด และทำให้เจ้าของบ้านมีคำตอบที่ชัดเจนในการเลือกวัสดุที่ใช้ในการสร้างบ้าน และง่ายต่อการตัดสินใจสร้างบ้าน การเลือกแบบ วิธีการสร้าง ขนาดพื้นที่ รวมถึงการใช้จ่ายในการตกแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ หรือแม้แต่สิ่งอำนวยความสะดวกรอบบริเวณบ้าน และพื้นที่สวนด้วย

8. ช่วงเวลาและขั้นตอนการสร้างบ้าน
การกำหนดระยะเวลาของกรสร้างบ้านที่เหมาะสม ดูลมฟ้าอากาศให้รอบคอบ จะช่วยให้สามารถวางแผนล่วงหน้าในงานก่อสร้างขั้นตอนต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน ไม่มีปัญหาระหว่างการก่อสร้าง เพราะหากระยะเวลาก่อสร้างนานเกินไปหรือยืดเยื้อ ช่วงเวลาการทำงานไม่เป็นระบบ ไม่รู้ขอบเขตงานที่แน่นอน อาจมีปัจจัยอื่นที่ก่อให้เกิดปัญหาลากยาวไม่สิ้นสุดตามมา เช่น ฤดูกาลทำให้บางขั้นตอนของงานสร้างใช้วลามากกว่าปกติ การดำเนินการด้านเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างบ้านไม่รองรับขั้นตอนการดำเนินงาน รวมถึงการเตรียมงบประมาณสำหรับจ่ายในขั้นตอนต่าง ๆ อาจจะมีปัญหาได้
9. แบบบ้านและทำเรื่องขออนุญาตปลูกสร้างบ้าน
เจ้าของบ้านส่วนใหญ่มักมีประสบกรณ์ในการสร้างบ้านอยู่บ้าง แต่อาจจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งการสร้างบ้านนี้ เจ้าของบ้านต้องเป็นหลักในการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง งบประมาณ หรือปัญหาอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างงานก่อสร้าง ดังนั้นเพื่อให้ความต้องการที่จะสื่อสารกับสถาปนิก วิศวกร หรือคนทำงานเป็นไปอย่างชัดเจน มีความเข้าใจตรงกัน เจ้าของบ้านควรให้เวลาศึกษา ทำความเข้าใจแบบบ้านที่ต้องการ เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ระหว่างการพูดคุยวางแผน ทำให้เกิดความราบรื่นมากขึ้น
10. บริษัทรับสร้างบ้าน เลือกใช้มืออาชีพมาทำการก่อสร้าง
การเลือกบริษัทรับสร้างบ้าน การเลือกมืออาชีพมาทำการก่อสร้างบ้านตามแบบที่ตอบโจทย์ งบไม่บานปลาย และสร้างบ้านแล้วได้บ้านอย่างที่ใจหวังนั้น โดยก่อนตัดสินใจเลือกบริษัทรับสร้างบ้าน ควรทำความรู้จักแต่ละบริษัท เปรียบเทียบผลงาน ความน่าเชื่อถือ บริการก่อนและหลังสร้างบ้านเสร็จ การดูแลรักษา การตรวจสอบข้อบกพร่องการรับประกันโครงสร้างหลังสร้างบ้าน ใบอนุญาตการดำเนินงานและมาตรฐานของบริษัท รวมถึงเครือข่ายบริษัทวัสดุที่ใช้ในการดำเนินงานก่อสร้าง โดยควรใช้เวลาพิจารณาอย่างค่อยเป็นค่อยไป และรอบคอบมากที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดข้อยุ่งยากตามมาในภายหลัง
นี่ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มสร้างบ้าน เมื่อคุณรู้อย่างนี้แล้วก็จะช่วยให้คุณสามารถเตรียมความพร้อมต่าง ๆ ในการก่อสร้างบ้านของคุณได้อย่างราบรื่น ตรงตามเวลาที่กำหนดเอาไว้ และยังตรงตามมาตรฐาน ไม่ต้องปรับแก้ในเรื่องต่าง ๆ ให้ยุ่งยาก แถมยังจะได้บ้านที่น่าอยู่อีกด้วยนะคะ
แนะนำ 6 เว็บแคมภาพชัด
ในยุคของโรคไวรัสโควิด-19ระบาด ทำให้หลาย ๆ สถานที่ต้องงดทำกิจกรรมในที่นั้น ๆ จึงได้มีการทำงาน หรือเรียนผ่านระบบออนไลน์กันอย่างมากขึ้น และสายสตรีมเมอร์ก็ใช้กันอย่างมาก ถือเป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่สำคัญนั้นก็คือกล้องเว็บแคม (Webcam) ฉะนั้นมา แนะนำ 6 เว็บแคมภาพชัด ไปดูกันว่ามีรุ่นไหนบ้าง
