เมื่อคุณขับรถไปในพื้นที่ต่างๆ ของภาคอีสาน คุณก็จะพบกับบ้านรูปร่างแปลกๆ หลายต่อหลายหลัง แต่ปัจจุบันนี้มันมักมีให้เห็นในรูปแบบบ้านกึ่งปูนกึ่งไม้ เหตุเพราะอะไรนั้นไปติดตามรับชมพร้อมๆ กันกับ baanclub.com ได้เลย กับ“เฮือนอีสาน” บ้านต้นฉบับคนอีสาน
“เฮือนอีสาน” บ้านต้นฉบับคนอีสาน
เฮือนอีสาน หรือ บ้านของคนอีสานที่มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์ที่สร้างขึ้นมาในอดีตกาล เป็นรูปแบบบ้านไม้ลอยตัวที่ยกสูงขึ้นมาจากพื้นดิน เพื่อประโยชน์การใช้สอย รวมไปถึงเพื่อหลีกหนีภัยธรรมชาติ สัตว์ร้าย ที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัย “เฮือน” ในที่นี้หมายความว่าสิ่งปลูกสร้างที่สร้างขึ้นเพื่ออยู่อาศัย หรือเรือนตามภาษากลาง
เฮือนอีสาน หรือ เรือนพื้นถิ่นอีสาน เป็นบ้านที่มีลักษณะเฉพาะ จะถูกสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง มุงด้วยหลังคาหญ้า ยกสูงจากพื้นขึ้นมานระดับที่คนสามารถเข้าไปยืนได้ เพื่อเป็นประโยชน์ใช้สอย ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกสร้างโดยประมาณไม่เกิน 3 ห้องเสา เพราะทำให้บ้านมั่นคงแข็งแรง ซึ่งบ้านที่มีตั้งแต่ 3 ห้องเสาขึ้นไปนั้นถูเรียกว่า “เฮือนใหญ่” มันเป็นส่วนในการบ่งบอกอะไรหลายๆ อย่างในอดีต ไม่ว่าจะเป็นฐานะ ความขยันของเจ้าของบ้าน ก็ด้วย ในอดีตกาล ชาวอีสานอาศัยกันอยู่เป็นครอบครัวใหญ่ สองสามีภรรยานิยมมีลูกหลายคน เพื่อคาดว่าจะได้ใช้งาน และเลี้ยงดูตนในตอนแก่เฒ่า

(เฮือนอีสาน1)
ส่วนมากเฮือนอีสานจะถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนใหญ่ๆ ดังนี้
-ห้องเปิง คือ ห้องสำหรับทำพิธีกรรมต่างๆ เป็นห้องของผีบ้านผีเรือน ซึ่งชาวอีสานนั้นอยู่ร่วมกับความเชื่อ เรื่องผีสางก็เช่นกัน ห้องนี้จึงมีไว้เพื่อให้ผีสางที่คอยปกปักรักษาบ้านอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องราวในอดีต แต่พอมีเรื่องราวของพุทธศาสนาเข้ามาก็เริ่มเปลี่ยนเป็นห้องพระนั่นเอง
-ห้องกลาง คือ ห้องนอนของเจ้าบ้าน คือพ่อ แม่ รวมไปถึงลูกๆ ทั้งหมด ที่นอนอยู่ร่วมกัน
-ห้องส้วม ในที่นี้จะไม่ใช่ห้อง แต่มันคือห้องของลูกสาวที่พาสามีมาอยู่บ้านแล้วจะถูกยกห้องนั้นไว้ให้เป็นเรือนหอ เพราะกล่าวกันว่ามีลูกสาวก็เหมือนมีส้วมอยู่หน้าบ้าน เพราะจะมีชายเข้ามาอยู่ตลอด ซึ่งก็ต่างกันออกไป การเข้าห้องน้ำของชาวอีสานนั้นก็คือป่า ต้องเข้าป่าขุดหลุมเพื่อปลดทุกข์ เนื่องจากในอดีตไม่มีสุขภัณฑ์อย่างเช่นปัจจุบัน
เฮือนอีสาน มีวิวัฒนาการมาจากการอยู่ในถ้ำของบรรพชนในอดีต ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงมาจนกลายเป็นเถียงนา เป็นการสร้างขึ้นเพื่อกันแดดฝน แต่ก็ไม่ได้ถาวร จึงมีวิวัฒนาการขึ้นมาอีกเป็นการสร้างบ้างให้มีความคงทนแข็งแรงมากขึ้น เพื่อให้ทนต่อสภาพอากาศที่เลวร้าย
เฮือนอีสานที่มีโถงด้านล่างบ้านที่โล่งนั้นถูกใช้เป็นพื้นที่ใช้สอยต่างๆ ไม่ว่าจะเก็บเกวียน ทอผ้า หรือทำการเกษตรอย่างเลี้ยงหม่อนไหม และเลี้ยงสัตว์ไว้ใต้บ้านโดยการทำคอก เช่นคอกวัว ควาย ต่างๆ โถงบ้านจึงมีลักษณะที่สูง นอกจากนั้นยังป้องกันภัยพิบัติอย่างน้ำหลาก ลมแรงได้เป็นอย่างดี
ในส่วนของโครงสร้างเฮือนอีสานนั้นจะใช้เป็นไม่เนื้อแข็ง ถากผิวเนื้อไม้ออกอย่างดีเหลือแต่แก่นของไม้ ซึ่งไม้เนื้อแข็งจะถูกนำมาทำโครงสร้าง เช่น เสา คาน ตง แบ และในส่วนที่ใช้ล้อมบ้านนั้นจะใช้เป็นไม้เนื้ออ่อนที่ถูกนำมาแปรรูปด้วยมือล้วนๆ ซึ่งไม้เหล่านี้ถูกเรียกว่า ไม้แบ้น ซึ่งจะถูกเรียงซ้อนกันขึ้นเป็นชั้นๆ โดยจะไม่วางเรียงแผ่นชิดกัน ปลายข้างไม้แต่ละแผ่นจะทับแผ่นด้านล่างขึ้นเรื่อยๆ ในส่วนของหลังคาจะใช้เป็นหญ้าคาที่เกี่ยวมาตากแห้งแล้วนำมาเข้าในหีบไม้เรียงกันขึ้นเป็นชั้นๆ จึงจะเห็นได้ว่ามันรั่วซึ่งฝนได้ง่ายมาก แต่ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาโดยการใช้ใบไม้มารองชั้นล่างของชั้นหลังคาหญ้า ที่นิยมกันนั้นจะเป็นใบต้นกรุง หรือเรียกกันว่า ใบตองกรุง

(เฮือนอีสาน2)
ซึ่งเฮือนอีสานเองก็ถูกยกให้เป็นอีกหนึ่งในบ้านเรือนไทยที่ทีเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นบ้านเรือนไทยที่ไม่มีปั้นลมเหมือนเรือไทยภาคกลาง ส่วนทางภาคเหนือจะรียกว่า กาแล และหลังจากยุคสมัยที่ได้เปลี่ยนไปก็ทำให้เฮือนอีสานได้เปลี่ยนไป จากที่มีปูนซีเมนต์เข้ามากก็ได้มีการทำชั้นล่างเป็นปูน รวมไปถึงหลังคาสังกะสี หลังคาเหล็ก หลังคากระเบื้องนั่นเอง จึงทำให้บ้านในภาคอีสานแบบเฮือนอีสานนั้นเริ่มเรือนหายไปตามกาลเวลา

(เฮือนอีสาน3)
ในส่วนของข้อมูลข้างต้นของ “เฮือนอีสาน” บ้านต้นฉบับคนอีสาน นี้สร้างขึ้นเพื่อที่จะเป็นส่วนในการอนุรักษ์ไว้ซึ่งเฮือนอีสานที่มีเอกลักษณ์ของคนอีสาน และถ้าหากข้อมูลผิดพลาดประการใดนั้นก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
ต้องรู้กับ ยกเครื่องคุมเข้ม “ภูเก็ต แซนด์บอกซ์” หวั่นโควิด-19 ไฟลามทุ่ง
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 ในระลอกใหม่นี้ อยู่ในขั้นวิฤกตแล้ว ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในจังหวัดภูเก็ตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งจำนวนมีผู้ติดเชื้อ New high พุ่งทะลุถึง 100 คนในรอบ 1 สัปดาห์ ยกเครื่องคุมเข้ม “ภูเก็ต แซนด์บอกซ์” หวั่นโควิด-19 ไฟลามทุ่ง ตามเราไปดูกัน
